shape

ศูนย์วิจัยด้านธุรกิจอัจฉริยะ
Research Center for Business Intelligence and Analytics (RCBIA)

ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย

ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างมากในหลายด้าน โดยเฉพาะกับภาคการศึกษาและภาคธุรกิจที่เทคโนโลยีดิจิทัลส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงแนวคิดของหลักสูตร รูปแบบเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการเรียนการสอน การติดต่อสื่อสารระหว่าง นักศึกษาและอาจารย์ รวมถึงรูปแบบข้อความต่าง ๆ ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปจากการศึกษาในอดีตอย่างมาก จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ทำให้รัฐบาลที่กำลังมุ่งเน้นการขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัลยุคใหม่ ให้สามารถตอบสนองกับนโยบายดิจิทัลไทยแลนด์ ไทยแลนด์ 4.0และ ยุทธศาสตร์ชาติ 20ปี ที่ต้องการพัฒนากำลังคนดิจิทัลในอนาคตของประเทศให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมมากที่สุด เพื่อช่วยยกระดับศักยภาพการแข่งขันของประเทศไทย และสอดรับกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีด้านดิจิทัล สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ นำไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจของประเทศและการเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียนในอนาคต ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้เกิดการบูรณาการการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านดิจิทัลร่วมกัน รวมทั้งสนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบนิเวศ ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีศักยภาพและเป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคตสำหรับกิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ตลอดจนกำหนดมาตรการแนวปฏิบัติในการคุ้มครองสิทธิและข้อมูลส่วนบุคคล จัดให้มีมาตรการเฝ้าระวังและรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ที่เหมาะสมและสอดคล้องตามมาตรฐานสากล เพื่อรองรับการเติบโตของการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลในอนาคต

ระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence) เริ่มเข้ามามีบทบาทอย่างกว้างขวางในหลายๆ สาขาอาชีพทั้งภาครัฐและเอกชน เนื่องจากสภาพการแข่งขันทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้องค์กรต่าง ๆ ต้องแบกรับความกดดันในการวางแผนกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ขององค์กร และด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปก็เป็นการส่งเสริมให้องค์กรเหล่านั้นเห็นความสำคัญกับการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มมากขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการตัดสินใจในการตอบสนองต่อสภาพการแข่งขันระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence) จึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้การตัดสินใจขององค์กรเป็นไปอย่างมีระบบและเป็นแบบอัตโนมัติเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากโลกของการแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบันเป็นโลกของข้อมูลข่าวสารที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาหลายๆ องค์กรจึงต้องมีการปรับตัวและปรับเปลี่ยนวิธีการคิดและวัฒนธรรมองค์กร ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ Data Analytics ได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับองค์กรธุรกิจในการนำ Big Data ไปวิเคราะห์ เพื่อใช้ในการบริหารองค์กร โดย Business Analytics แบ่งเป็น 3 แบบ คือ 1) Descriptive Analytics 2) Predictive Analytics และ 3) Prescriptive Analytics

จากความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัล กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก นโยบายรัฐบาลและความต้องการกำลังคนที่ต้องมีความรู้ความสามารถด้านดิจิทัล เพื่อช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ได้ โดยการสร้างความร่วมมือของอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผ่านการสร้างศูนย์วิจัยด้านธุรกิจอัจฉริยะเพื่อเป็นศูนย์กลางการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดงานวิจัยและนวัตกรรมทางด้านธุรกิจอัจฉริยะไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง และเป็นกลไกในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการพัฒนาด้านธุรกิจอัจฉริยะ ตลอดจนให้ความรู้และบริการด้านเทคโนโลยีกับภาครัฐและเอกชนสำหรับการใช้ประโยชน์ด้านธุรกิจ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมการบริการวิชาการและสร้างความร่วมมือด้านธุรกิจอัจฉริยะ โดยเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงเครือข่ายในส่วนของสถานประกอบการภาครัฐและเอกชน
2. บูรณาการงานวิจัย นวัตกรรม และใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ให้กับเครือข่ายสถานประกอบการภาครัฐและเอกชน และเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและพัฒนาระบบสารสนเทศ ระบบธุรกิจอัจฉริยะ และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
3. การเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านธุรกิจอัจฉริยะให้กับนักศึกษาและบุคลากรคณะวิทยาการจัดการ ในการเพิ่มสมรรถนะและประสบการณ์ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้านธุรกิจอัจฉริยะ รวมทั้งการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาในการทำงานเป็นทีม

ผู้บริหารศูนย์วิจัยด้านธุรกิจอัจฉริยะ

Advisor

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรวัฒน์ หังสพฤกษ์

คณบดีคณะวิทยาการจัดการ

 +66-7428-7800      theerawat.h@psu.ac.th

Advisor

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กุลวดี ลิ่มอุสันโน

รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ

 +66-7428-7939      kulwadee.l@psu.ac.th

Director, Research Center for Business Intelligence and Analytics.

ดร.อรรถพร หวังพูนทรัพย์

 +66-7428-7891      attaporn.w@psu.ac.th

คณะกรรมการศูนย์วิจัยด้านธุรกิจอัจฉริยะ

คณบดีคณะวิทยาการจัดการ ที่ปรึกษา
รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ที่ปรึกษา
ดร.อรรถพร หวังพูนทรัพย์ ประธานกรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรญา สุวรรณโณ กรรมการ
ดร.รุชดี บิลหมัด กรรมการ
ดร.ธัญรดี ทวีกาญจน์ กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันอามีนา บอสตัน อลี กรรมการ
ดร.จิตติมา วิเชียรรักษ์ กรรมการ
อาจารย์พริดา วิภูภิญโญ กรรมการ
อาจารย์ปาลิดา สุทธิชี กรรมการ
นางสาวปานทิพย์ ผดุงจิตเกษม กรรมการ
นายอนุวัฒน์ พัฒนเชียร กรรมการ
นายอาณัฐ ซึ้งประสิทธิ์ กรรมการ
นายฤทธิรงค์ รอดหมิ่น กรรมการ
นายวุฒิพงศ์ หว่านดี เลขานุการ