ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย
ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างมากในหลายด้าน โดยเฉพาะกับภาคการศึกษาและภาคธุรกิจที่เทคโนโลยีดิจิทัลส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงแนวคิดของหลักสูตร รูปแบบเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการเรียนการสอน การติดต่อสื่อสารระหว่าง นักศึกษาและอาจารย์ รวมถึงรูปแบบข้อความต่าง ๆ ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปจากการศึกษาในอดีตอย่างมาก จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ทำให้รัฐบาลที่กำลังมุ่งเน้นการขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัลยุคใหม่ ให้สามารถตอบสนองกับนโยบายดิจิทัลไทยแลนด์ ไทยแลนด์ 4.0และ ยุทธศาสตร์ชาติ 20ปี ที่ต้องการพัฒนากำลังคนดิจิทัลในอนาคตของประเทศให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมมากที่สุด เพื่อช่วยยกระดับศักยภาพการแข่งขันของประเทศไทย และสอดรับกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีด้านดิจิทัล สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ นำไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจของประเทศและการเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียนในอนาคต ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้เกิดการบูรณาการการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านดิจิทัลร่วมกัน รวมทั้งสนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบนิเวศ ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีศักยภาพและเป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคตสำหรับกิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ตลอดจนกำหนดมาตรการแนวปฏิบัติในการคุ้มครองสิทธิและข้อมูลส่วนบุคคล จัดให้มีมาตรการเฝ้าระวังและรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ที่เหมาะสมและสอดคล้องตามมาตรฐานสากล เพื่อรองรับการเติบโตของการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลในอนาคต
ระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence) เริ่มเข้ามามีบทบาทอย่างกว้างขวางในหลายๆ สาขาอาชีพทั้งภาครัฐและเอกชน เนื่องจากสภาพการแข่งขันทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้องค์กรต่าง ๆ ต้องแบกรับความกดดันในการวางแผนกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ขององค์กร และด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปก็เป็นการส่งเสริมให้องค์กรเหล่านั้นเห็นความสำคัญกับการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มมากขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการตัดสินใจในการตอบสนองต่อสภาพการแข่งขันระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence) จึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้การตัดสินใจขององค์กรเป็นไปอย่างมีระบบและเป็นแบบอัตโนมัติเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากโลกของการแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบันเป็นโลกของข้อมูลข่าวสารที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาหลายๆ องค์กรจึงต้องมีการปรับตัวและปรับเปลี่ยนวิธีการคิดและวัฒนธรรมองค์กร ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ Data Analytics ได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับองค์กรธุรกิจในการนำ Big Data ไปวิเคราะห์ เพื่อใช้ในการบริหารองค์กร โดย Business Analytics แบ่งเป็น 3 แบบ คือ 1) Descriptive Analytics 2) Predictive Analytics และ 3) Prescriptive Analytics
จากความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัล กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก นโยบายรัฐบาลและความต้องการกำลังคนที่ต้องมีความรู้ความสามารถด้านดิจิทัล เพื่อช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ได้ โดยการสร้างความร่วมมือของอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผ่านการสร้างศูนย์วิจัยด้านธุรกิจอัจฉริยะเพื่อเป็นศูนย์กลางการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดงานวิจัยและนวัตกรรมทางด้านธุรกิจอัจฉริยะไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง และเป็นกลไกในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการพัฒนาด้านธุรกิจอัจฉริยะ ตลอดจนให้ความรู้และบริการด้านเทคโนโลยีกับภาครัฐและเอกชนสำหรับการใช้ประโยชน์ด้านธุรกิจ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมการบริการวิชาการและสร้างความร่วมมือด้านธุรกิจอัจฉริยะ โดยเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงเครือข่ายในส่วนของสถานประกอบการภาครัฐและเอกชน
2. บูรณาการงานวิจัย นวัตกรรม และใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ให้กับเครือข่ายสถานประกอบการภาครัฐและเอกชน และเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและพัฒนาระบบสารสนเทศ ระบบธุรกิจอัจฉริยะ และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
3. การเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านธุรกิจอัจฉริยะให้กับนักศึกษาและบุคลากรคณะวิทยาการจัดการ ในการเพิ่มสมรรถนะและประสบการณ์ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้านธุรกิจอัจฉริยะ รวมทั้งการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาในการทำงานเป็นทีม
ผู้บริหารศูนย์วิจัยด้านธุรกิจอัจฉริยะ
![]() Advisor ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรวัฒน์ หังสพฤกษ์ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ +66-7428-7800 theerawat.h@psu.ac.th |
![]() Advisor ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กุลวดี ลิ่มอุสันโน รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ +66-7428-7939 kulwadee.l@psu.ac.th |
|
![]() Director, Research Center for Business Intelligence and Analytics. ดร.อรรถพร หวังพูนทรัพย์ +66-7428-7891 attaporn.w@psu.ac.th |
คณะกรรมการศูนย์วิจัยด้านธุรกิจอัจฉริยะ
คณบดีคณะวิทยาการจัดการ | ที่ปรึกษา |
รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ | ที่ปรึกษา |
ดร.อรรถพร หวังพูนทรัพย์ | ประธานกรรมการ |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรญา สุวรรณโณ | กรรมการ |
ดร.รุชดี บิลหมัด | กรรมการ |
ดร.ธัญรดี ทวีกาญจน์ | กรรมการ |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันอามีนา บอสตัน อลี | กรรมการ |
ดร.จิตติมา วิเชียรรักษ์ | กรรมการ |
อาจารย์พริดา วิภูภิญโญ | กรรมการ |
อาจารย์ปาลิดา สุทธิชี | กรรมการ |
นางสาวปานทิพย์ ผดุงจิตเกษม | กรรมการ |
นายอนุวัฒน์ พัฒนเชียร | กรรมการ |
นายอาณัฐ ซึ้งประสิทธิ์ | กรรมการ |
นายฤทธิรงค์ รอดหมิ่น | กรรมการ |
นายวุฒิพงศ์ หว่านดี | เลขานุการ |